หาไม่เจอเหรอ หาที่นี่สิ

Custom Search

Thursday, August 27, 2009

หลักการโจมตีแบบมืออาชีพ




"Principles Camp; Fundamentals of Close Quarters Combat (CQC) / Close Quarters Battle (CQB)"

ใน การปฏิบัติการทางทหาร การสู้รบอันเกิดขึ้นในระยะประชิด เช่น ในห้องเล็กๆ จะต้องถูกวางแผนและปฏิบัติอย่างรัดกุมและระมัดระวัง หน่วยรบที่จะต้องเข้าทำการปฏิบัติในภารกิจนั้นๆจะต้องได้รับการฝึก ทดสอบ ซักซ้อม จนชุดยิงทุกชุดสามารถปฏิบัติหน้าที่ประสานสอดคล้องกันได้ด้วยดี สมาชิกในหน่วยจะต้องเข้าใจในหลักพื้นฐานและในส่วนของการปฏิบัติตามหน้าที่ ของตนเพื่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ หลักพื้นฐานนั้นได้แก่ การปฏิบัติอย่างฉับพลัน + ความเร็ว + ความรุนแรง


1. การปฏิบัติอย่างเฉียบพลัน เป็นกุญแจหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของภารกิจ ชุดยิงหรือส่วนบุกจะต้องปฏิบัติการอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาที ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ(Deceive) ทำให้ไขว้เขว(Distract) หรือสร้างความตกใจแก่ศัตรู(Startling) หมายรวมไปถึงการใช้ระเบิดแสง(Stun grenade / Flash Bang) ด้วย แต่ในกรณีนี้จะเกิดผลดีก็ต่อเมื่อเป็นการปฏิบัติต่อฝ่ายข้าศึกที่ไม่ได้มี การระมัดระวังตัว หรือถูกฝึกมาในระดับที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าข้าศึกถูกฝึกมาเป็นอย่างดี ขั้นตอนนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย


2. ความเร็ว มีผลให้ทีมบุกสามารถเข้ายึด/เคลียร์พื้นที่ภายในห้องได้โดยปลอดภัย ใน CQB การใช้ความเร็วไม่ได้หมายความว่าจะต้องเคลื่อนที่เร็วมากจนสูญเสียการระมัด ระวัง แต่หมายความว่า ให้ระวังแล้วไปอย่างรวดเร็ว

3. ความรุนแรง คือการปฏิบัติต่อข้าศึกอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจด้วยการทำการยิงด้วยอำนาจของอาวุธที่มี เพื่อทำให้ข้าศึกนั้นเหลือโอกาสน้อยที่สุดที่จะสร้างอันตรายกับสมาชิกของทีม บุก
หลักเบื้องต้นทั้งสามต่างมีความสำคัญและสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่น ความรุนแรงและความเร็ว จะส่งผลให้การปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ข้าศึกเกิดความชะงักงัน

ข้อปฏิบัติมูลฐานของCQB
1. เคลื่อนที่เข้าสู่จุดประสานการปฏิบัติ , จุดนัดหมาย ให้เงียบที่สุด สัมภาระเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
2. เข้าถึงจุดนัดหมายของแต่ละชุดโดยไม่ถูกข้าศึกตรวจพบ และรอสัญญาณการปฏิบัติ
3. เมื่อได้รับสัญญาณให้ดำเนินการปฏิบัติ บุกเข้าเคลียร์พื้นที่และประจำจุดของตนเองอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทุกชุดยิงสามารถทำการยิงได้โดยไม่เกิดการกีดขวางแนวการยิงกันเอง
4. สังหารข้าศึกด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และลดโอกาสความการตอบโต้ให้ได้มากที่สุด
5. ควบคุมสถานการณ์และบุคคลในพื้นที่ให้ได้โดยฉับพลัน
6. ตรวจสอบผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในส่วนทีมบุก รายงานผลการปฏิบัติ แล้วทำการตรวจสอบฝ่ายข้าศึก
7. ดำเนินการปฐมพยาบาลระดับเบื้องต้น รอคำสั่งปฏิบัติเพิ่มเติม
8. ขนย้ายผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของฝ่ายเรา
9. ทำสัญลักษณ์การเคลียร์พื้นที่
10. จัดสนธิกำลังใหม่โดยเร่งด่วนเพื่อเตรียมการปฏิบัติการรุก รับ หรือ ร่นถอย ต่อไป


ว่าด้วยเรื่องของการเข้าจุดเพื่อทำการปฏิบัติครับ เอาง่ายๆ การไปเข้าจุดนั้นต้องไปให้เร็วและเงียบ
พูดถึงทีมบุกครับ โดยปกติ 1 ทีมบุกสนธิกำลังรวมกันทั้งหมด 4 นาย เรียงเป็น 1 , 2 , 3 และ 4 โดยหัวหน้าทีมจะอยู่ในลำดับที่ 3
คนที่มีอาวุธในระดับของไรเฟิลอย่าง m-16 หรือ คาร์บินอย่าง m-4 หรือจะอาวุธหนักกว่านั้น จะอยู่ในลำดับที่ 4 ครับ

การจัดลำดับในทีม
การจัดลำดับในทีมจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เลือกจะเข้ากระทำต่อเป้าหมายนะครับ ปกติก็เรียงกันเป็นแถว
ตอน ลึกตามลำดับ 1-4 เวลาเคลื่อนที่ปกติก็ไปเป็นแถวตอนลึกครับ (1 รับผิดชอบเขตการยิงด้านหน้า 4 ด้านหลัง ส่วน 2 กับ 3 ใครซ้ายใครขวา ผมไม่แน่ใจ
ถ้าจำไม่ผิด 2 ซ้าย 3 ขวา ครับ)
การเคลื่อนที่เข้ากระทำ โดยอาศัยการ breach ของลูกซอง - อันนี้เราคงคุ้นหูคุ้นตาถ้าดูหนังแอ้กชั่นที่มีพวก swat โผล่มาบ่อยๆ ด้วยการใช้ปืน
ลูกซองยิงกระสุนพวก rubber baton ทำลายกลอนประตู แล้วก็กรูกันเข้าห้องอ่ะนะครับ จะเรียงด้วย 4-1-2-3 (4 ก็คือพลยิงที่ใช้ลูกซองครับ)
เมื่อทำการยิงทำลายกลอนประตูแล้ว 4 จะกลับมาอยู่ในลำดับท้ายสุดเหมือนเดิมครับ
การเคลื่อนที่ไปแปะ breaching charge - อันนี้ก็ทำลายประตูเหมือนกันครับ แต่ใช้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก ดินระเบิดแบบ c-2 ครับ แปะประตู
ซะ อันนี้จะเรียงลำดับแบบนี้ครับ 3-2-1-4 หัวหน้าทีมนำหน้าครับ เมื่อถึงประตูแล้ว หัวหน้าทีมจะทำการคุ้มกันพื้นที่หน้าประตู
เผื่อ ว่าคนข้างในเปิดออกมาจ้ะเอ๋กัน (นี่คือข้อสำคัญที่ว่าต้องเข้าจุดด้วยความเงียบ ถ้าเงียบไม่จริง คนข้างในเค้าจะไม่เล่นจ้ะเอ๋ แต่เค้าจะยิง
ทะลุประตูออกมาทักทายแทน ^.^) 2 ทำหน้าที่ในการติดตั้ง charge ครับ 1 จะขึ้นโล่ห์ blast shield สำหรับป้องกันแรงระเบิดและส่วนของ
สะเก็ด ระเบิด 4 ทำการระวังหลังครับ เมื่อเซ็ทเรียบร้อยให้ 2 ถอนตัวไปอยู่หลัง 1 และ 3 ถอนตัวไปอยู่หลัง 2 เรียงกันเป็น 1-2-3-4 เหมือนเดิมครับ

รูป แบบการจัดตำแหน่งเวลาเคลื่อนที่
1. serpentine technique - ใช้ในเส้นทางเดินแคบๆครับ 1 รับผิดชอบเขตการยิงด้านหน้า 2 ซ้าย 3 ขวา และ 4 หลัง ครับ
2. rolling-T technique - ใช้ในเส้นทางเดินที่ออกจะกว้าง 1 และ 2 จะรับผิดชอบเขตการยิงในทิศทางตรงข้ามกัน ตำแหน่งการเคลื่อนของ 1 กับ 2 จะขนานกันไปเรื่อยๆ ไม่ให้เหลื่อมล้ำกันเท่าไหร่ บัดดี้เราจะได้ทำการยิงได้ เราไม่บังทางปืนบัดดี้ และไม่เป็นเป้าให้ฝ่ายตรงข้าม 3 รับผิดชอบเขตการยิงด้านหน้า ทำการยิงผ่าน 1 และ 2 ส่วน 4 เหมือนเดิม คุ้มกันหลัง

Tactical actions at & upon entering the point of entry

คราวนี้เราจะมาว่ากันที่เรื่องของ ยุทธวิธีการปฏิบัติในช่วงเวลาบู้กันบ้างครับ
เค้าบอกมาว่าการปฏิบัติ ณ ที่หมายนั้น จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว ที่สำคัญคือฝึกซ้อมมาแล้วเป็นอย่างดี
ตระหนักโดยตลอดว่าพื้นที่ปฏิบัตินั้นเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายรอบด้าน อย่าลืมหลักพื้นฐานของ CQB ที่เราจะต้องสร้างความชะงักงันให้กับ
ฝ่ายตรงข้ามให้ได้ มิเช่นนั้นฝ่ายเราเองจะเซอร์ไพรซ์กับสิ่งที่เค้าเตรียมไว้มอบให้เรา
เข้าจุดแล้วทำอะไรต่อ ?

1. ตำแหน่งการวางตัวของสมาชิกในทีมบุก ณ จุดปฏิบัติ จะต้องสัมพันธ์กับสภาพภายในห้องที่จะบุก
(เชิงอรรถ : พูดง่ายๆครับคือ ตำแหน่งวางตัวเราจะต้องไม่ไปอยู่ในทางปืนของฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายเดียวกัน หากเกิดการยิงกันขึ้นก่อนคำสั่งบุก
และจะต้องเป็นตำแหน่งที่ยืดหยุ่นมากพอที่จะสามารถทำการตอบโต้และดำเนินกลยุทธด้วยการยิงสังหารได้ด้วย)
สมาชิก ทีมบุกจะต้องอยู่ให้ใกล้ประตูที่จะเข้าให้มากที่สุด ย่อเข่า (เพื่อลดขนาดการเป็นเป้าเวลาเข้าห้อง) ถืออาวุธในท่าเตรียมใช้อาวุธใน 2 ลักษณะ
คือ high-carry กับ low-carry ลำกล้องต้องไม่หันไปทางสมาชิกทีม

2. ให้สัญญาณพร้อมปฏิบัติกับสมาชิก อันนี้หลีกเลี่ยงการใช้เสียงครับ เค้าบอกว่าให้คนหลังสุดแตะแขนคนข้างหน้า และทำตามกันมาเรื่อยๆ
จนถึงคนหน้าสุด เป็นอันว่ารู้กันว่าทุกคนพร้อม รอแค่คนหน้าสุดเปิดยุทธการ

3. เค้าพูดถึงเรื่อง สป. สิ่งอุปกรณ์ สัมภาระที่นำไปจะต้องเลือกมาแล้วนะครับว่ามันจะได้ใช้หรืออาจจำเป็นต้องใช้ ของไม่จำเป็น
ไม่ ต้องเอามา ที่สำคัญ มันจะต้องไม่ทำให้เกิดเสียง ทั้งจะจากตัววัสดุชิ้นนั้งเอง หรือการติดตั้งประกอบกับชุด (ทหารเค้าจะมีการตรวจสอบบางสิ่งบาง
อย่างก่อนการทำการปฏิบัติครับ เรียก "การตรวจสอบการผูกรัดมัดตึง" ใครอยากรู้เค้าทำยังไงบ้างถ้าเจอผมถามได้ครับ จะให้ท่านทำด้วยตนเอง จะ
ได้เข้าใจและทำเป็น ง่ายๆ ถ้าพบสิ่งผิดพลาดเค้าก็จะดำเนินการแก้ไขครับ) แล้วก็เรื่องของ "สิ่งที่ควรจะสวมใส่โดยเฉพาะถ้าจะ cqb" ก็คือ
เกราะ หมวก สนับ ถุงมือ แว่น เค้าบอกว่า "ควรจะ" ครับ

ถึงเวลาเข้าห้องแล้วครับ เข้าให้เร็วและราบเรียบที่สุด ย้ำว่าเร็วและราบเรียบ
(ไม่มีค่าเลย ถ้าเปิดประตู โยนแฟลชแบงก์ แล้วคนแรกที่เข้าวิ่งสะดุดขาตัวเองล้มอยู่หน้าประตู

1. พึงตระหนักว่าประตูห้องเป็นที่เพ่งเล็งของคนในห้องนะครับ สถานการณ์ตรงนี้เค้าเรียกว่า Fatal Funnel ระหว่างที่เราบุกเข้าห้อง ถ้าใครจะโดน
ก็ตรงประตูนี่แหละที่สำคัญ ถ้าคนโดนล้มลงขวางทาง คนหลังเสียเวลาในการเทคตัวเพื่อผ่าน เวลาไม่กี่วินาทีนั้น สมาชิกทีมคนที่เข้าไปแล้ว
อาจถูกเป่าดับ ตรงการเข้าห้องผ่านประตู ทุกคนจึงต้องเร็ว อย่างน้อยก็ลดโอกาสโดนยิงไปได้นิดนึง

2. ทันทีที่ได้รับสัญญาณบุก ทุกคนทำการบุกเข้าห้องตามลำดับเพื่อทำการปฏิบัติต่อเป้าหมายและไปยังตำแหน่งการวางตัวของตัวเอง
สมาชิกทีมจะหยุดเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อเคลียร์ห้องและเข้าตำแหน่งของตัวเองแล้ว (รอดูรูปครับ)

3. ยุทธวิธี cqb จะสำเร็จผล ส่วนสำคัญส่วนนึงคือ สมาชิกทีมจะต้องรู้ขอบเขตการยิงของตัวเองและของเพื่อนร่วมทีม รู้ขอบเขตการยิงที่ต้องยิง
ให้ประสานกัน และยังต้องรู้อีกว่า แนวยิงส่วนไหนที่เรายิงแล้วจะเป็นการรบกวนหรือแทรกแซงการยิงของสมาชิกคนอื่น
(เชิงอรรถ : การรบกวนอันเกิดขึ้นจากแสงที่ปลายลำกล้อง , ทิศทางการคัดปลอกกระสุน)
สมาชิก จะต้องทำการยิงสังหารในระหว่างเคลื่อนที่ไปยังจุดของตน ไม่ใช่เข้าจุดแล้วค่อยทำการยิง การยิงที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายบางทีห่างกัน
เพียงแค่ 1-2 นิ้วเท่านั้น ครับ และการทำการสังหารข้าศึกจะต้องทำอย่างรวดเร็ว ส่วนมากคือในครั้งแรกที่ข้าศึกมีสติ
อย่างสมมุติ ข้าศึกกะรังหันมาและร้องว่า ใคร-กัน-วะ กระสุนจะต้องกระทบเป้าช้าสุดตอนสิ้นคำว่า "ใคร" และข้าศึกที่มีท่าทีดังนี้
- กำลังจะทำการยิงโต้ตอบ
- ขวางอยู่บนเส้นทางในการเข้าจุดของเรา/อยู่ในขอตเขตการยิงของเรา
- อยู่ในระยะมือเอื้อมถึงกับสมาชิกทีมบุกคนใดๆ
- อยู่ในระยะ 3-5 ฟุต จากจุดบุกเข้าห้อง

4. ถึงแม้แต่ละคนจะรับผิดชอบเขตการยิงของตัวเอง แต่อย่าลืมช่วยสอดส่องเขตการยิงของคนอื่นๆด้วย เผื่อเค้าพลาดเราจะได้ช่วยเหลือทัน
ก่อนที่ข้าศึกจะตอบโต้ให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของสมาชิกทีมบุก (เขตการยิงร่วมจะอธิบายอีกทีนะครับ)

5. เมื่อเข้าจุด ถ้ายังมีข้าศึกหลงเหลือ ก็ให้ทำการยิงต่อจนสังหารหมดครับ (เรื่องการยิงจะเอามาเพิ่มให้ในตอน 4 reflexive shooting)

Reflexive Shooting

ภาษาไทย จะแปล reflexive shooting ว่าอะไรดีเนี่ย
reflex เป็นภาวะการตอบโต้ในทันทีทันใดของระบบประสาท ผมไม่แน่ใจว่า ยิงฉับพลัน ภาษาอังกฤษเค้าเรียกยังไง
เอาเป็นว่าผมมอง reflexive shooting อยู่ในหมวดของการยิงฉับพลันก่อนแล้วกันนะครับ
ในภาวะการณ์ cqb ความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย อย่างการยิงสังหารข้าศึกช้าไป ตัดสินใจเร็วไปในการเหนี่ยวไกและโดนตัวประกัน
ความ แม่นยำในการยิงที่คลาดเคลื่อน ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการสัมฤทธิผลของภารกิจทั้งสิ้น การจับถืออาวุธ+ท่าทางการยิง+วิธีการเล็ง+
พื้นที่กระสุนกระทบเป้า และ วิธีการยิง เหล่านี้ล้วนต้องถูกฝึกเพื่อให้ได้การยิงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ท่าพร้อมใช้อาวุธ
มีด้วยกัน 2 แบบ คือ high-carry และ low-carry (บางสายจะเรียก high-ready และ low-ready)
low-carry พานท้ายปืนจะประทับอยู่ที่ร่องไหล่ ลำกล้องปืนชี้ลงทำมุมกับแนวลำตัว 45 องศา เป็นลักษณะของท่าพร้อมที่ปลอดภัย พร้อมที่จะ
ยกขึ้นประทับเล็งแล้วทำการยิงได้ทันที นิยมใช้ในพื้นที่แคบๆครับ
high-carry พานท้ายอยู่บริเวณใต้รักแร้ ปลายลำกล้องชี้ขึ้น ถือปืนเป็นแนวเฉียง 45 องศา ง่ายๆครับ นี่คือท่าเตรียมใช้อาวุธมาตรฐานที่ฝึกกัน
น้องๆ รด. คงพอจะนึกกันออก โดยเฉพาะใครที่เคยผ่านการฝึกยิงฉับพลันมาแล้วล่ะก็ ใช่เลยครับ ท่าเตรียมก่อนยิงนั่นล่ะ เวลาจะทำการยิงก็ทำ
ด้วยการลดลำกล้องลงและขยับส่วนพานท้ายปืนให้เลื่อนขึ้นมาประทับเข้าร่องไหล่นั่นเองครับ นิยมให้กับการเคลื่อนที่ในแถวตอนพื้นที่กว้าง

ท่ายืนและเดิน
ยืน สบายๆครับ ถ่ายน้ำหนักลงทั้งสองเท้าให้เท่าๆกัน แยกเท้าห่างกันประมาณเท่าช่วงไหล่ เดินในระยะเท้าต่อเท้าเลยนะครับ ไม่ต้องก้าวยาวมาก
ย่อเข่าเล็กน้อย ลำตัวช่วงบนโน้มไปข้างหน้า อกผายไหล่ผึ่ง หน้าและคอตั้งตรง ลืมตากว้างกวาดมองดูโดยทั่ว การทำการยิงในระหว่างเคลื่อนที่
ต้องให้พานท้ายปืนประทับอยู่กับร่องไหล่ทุกครั้ง

การเล็ง
slow aimed fire - เป็นการเล็งยิงที่แม่นยำที่สุด ด้วยการจัดศูนย์ยิงประณีตแล้วทำการยิง ใช้กับเป้าหมายในระยะมากกว่า 25 เมตร
rapid aimed fire - ใช้กับระยะ 15 เมตร แค่เป้าอยู่ในวงศูนย์หลัง ถึงแม้ศูนย์หน้าจะยังไม่เข้าจุดดีก้อกระดิกนิ้วก่อนได้ ข่มขวัญ ^.^
aimed quick kill - เป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดสำหรับ cqb ครับ ที่ 12 เมตร ศูนย์หน้าทับเป้าแล้วกระดิกนิ้วเหนี่ยวไกได้เรย
instinctive fire - ใช้วิธีมองตามแนวลำกล้องแล้วทำการยิงครับ ถ้าไม่จวนตัวจริงๆคงไม่ทำ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถามว่า ทำไมบางคนใช้ท่ายิงใต้วงแขน ไม่มีการประทับเล็ง ยิงหัวซะงั้น อันนี้ขึ้นกับความชำนาญและการฝึกฝนครับ
เราทำกันวันสองวัน จะให้เดี๋ยวด๋าวได้อย่างนั้นก็คงไม่ใช่ครับ

จุดสังหาร พื้นที่กระสุนกระทบเป้า- ในการสู้รบปรบมือในระยะใกล้ขนาดนี้ ข้าศึกจะต้องถูกทำให้หมดความสามารถในการต่อสู้หรือโต้ตอบ
โดย ทันที สมาชิกทีมบุกจึงต้องมีสมาธิเป็นอย่างมากในการแสวงหาพื้นที่ฝังกระสุนให้ข้า ศึก เพราะถึงแม้จะทำการยิงถูกข้าศึกแต่ไม่ใช่จุดสำคัญ
มากพอนั่นหมายความว่าการโต้ตอบของฝ่ายตรงข้ามอาจจะสร้างความเสียหายให้ฝ่ายเรา ศีรษะข้าศึกเป็นเป้าที่ทีมบุกต้องจัดการ

1. จุดยิงที่สามารถรับประกันได้ว่าข้าศึกจะไม่สามารถตอบโต้เราได้เลยถ้าถูกยิง ณ จุดนี้ คือ ส่วนกลางของใบหน้า พื้นที่ต่ำลงมาจากหน้าผาก
และสูงกว่าริมฝีปากเล็กน้อย ถ้ามองจากด้านข้างศีรษะ ก็คือประมาณระดับของหูครับ
2. จุดยิงในบริเวณลำคอ เป็นเป้าหมายที่แคบ จะดีที่สุดถ้าสามารถทำลายในส่วนพื้นที่หลอดลมได้ เพราะจะหยุดข้าศึกได้แน่นอน แต่ถ้าคลาดเคลื่อน
ไป 1-2 เซนติเมตร ข้างศึกที่บาดเจ็บอาจจะมีแรงพอจะทำการยิงตอบโต้ได้ (โคตรอึด)
3. ลำตัวส่วนบน เน้นไปที่ส่วนกลางของปอด และ หัวใจ เป็นจุดชะงัดนักครับ เป็นเป้าขนาดใหญ่ที่เล็งได้ง่ายกว่า 2 แบบแรก แต่ให้สังวรณ์ไว้ว่า
เมื่อข้าศึกถูกยิงในบริเวณดังกล่าว จะเหลือเวลาประมาณ 2 วินาที ก่อนข้าศึกจะหมดความสามารถในการยิงโต้ตอบ 2 วินาทีที่ว่าเราจึงอันตราย
4. ลำตัวส่วนล่าง ข้าศึกตอบโต้ได้แน่นอนครับ (เจ้าของบทความบอกว่า เว้นแต่ มันจะเจ็บหนักจริงๆ)

วิธีการยิง
อันนี้ผู้เขียนเค้าบอกว่า ใน cqb นิยมใช้โหมดการยิงแบบ semi-automatic นะครับ จะทำการยิง 2 นัด เมื่อแสวงเป้าได้ เล็งได้
ก็ ยิงนัดแรก ปืนจะสะท้อนและเผยอตัวขึ้นตามแรงรีคอยล์ เราใช้จังหวะแป้บเดียวที่ปืนเผยอกวาดเอาศูนย์หน้ามาทับเป้าแล้วเหนี่ยวไกอีก ครั้งครับ
วิธีการยิงแบบนี้ เรียกว่า double tap สมาชิกของทีมทุกคนจะต้องฝึกจนคุ้นจนเคยชินครับ โดยปกติ สมาชิกทีมบุกจะยิง ดับเบิ้ลแทป ต่อเป้าหมาย
แบบ 1:1 ครับ จนกว่าข้าศึกจะล้มไป ส่วนกรณีที่ข้าศึกเผชิญหน้ากับทีมบุกหลายคน ก็จะดับเบิ้ลแทปตามขอบเขตการยิงหลักของตัวเองแล้วย้าย
ไปดับเบิ้ลแทปเป้าอื่นแล้วกลับมาดับเบิ้ลแทปเป้าในเขตการยิงของตัวเอง จนกว่าข้าศึกจะล้มกันไปข้างนึงครับ
(เชิงอรรถ : double tap ของบางสาย คือการยิงนัดแรกต่อเป้าหมาย และระหว่างที่ปืนกำลังสะท้อนตามรีคอยล์ และศูนย์ยังทับเป้าก็ยิงนัดสอง
และ บางสาย คือ ยิงนัดแรก แล้วรีคอยล์ ระหว่างปืนกำลังลดการเผยอ ศูนย์หน้าทับเป้าแล้วยิง)

Tuesday, August 25, 2009

สโลแกนง่ายๆที่อยากให้่ปฏิบัติ


1.ลงสนามถ้าไม่ใช่พวกเราก็จัดการพวกมัน แต่ กรณีออกจากสนามก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
2.หมั่นฝึกซ้อม
3.กฏเหล็กคือหากอยู่ในมุมอันตรายให้จักกระบวนทัพได้เลย

Thursday, August 20, 2009

สัญลักษณ์ประจำทีม


ขวาคือตัวแทนแห่งนักรบ และผู้ทำอาชีพบริการ
อันซ้ายคือมือของนักศิลป์ วัฒนธรรม และัปรัชญา
อันบนคือร่มไทรของผู้ประกอบอาชีพทั้งสองอาชีพอุ้มชูใว้
ตัวประตูศาลที่อยู่ตรงกลางเป็นตัวแทนประตูศาลเจ้าศักดิ์สิทธ์
ซึ่งเป็นประตูถวายให้แด่สมรภูมิที่ศักดิ์สิทธิ์และบรรพชนผู้พลีชีพทั้งหมด

Monday, August 10, 2009

Review:Type 89



ประสบการณ์ ครั้งแรก ----

จับ ขึ้นมา ตัวปืนมีความแข๊งแรงเป็นอย่างยิ่ง แน่นมาก (แหม ก็มันเป็น เหล็กนิ) ใช่ครับ เหล็กทั้งท่อน ยกเว้นประกับพันท้ายและ กริ้ปมือ

ในกล่องมีขาทรายมาให้ และ แม็กโม เมื่อลองประกอบแล้ว ใช้ได้ เลยครับ น้ำหนักไม่มาก และ เหมาะมือ



ตัวปืนภายนอกนั้น งานสวยและ พอดีมากครับ TYPE 89 ออกแบบมาให้คน เอเชียครับ มีขนาดเหมาะ มือ และง่าย ต่อการใช้งาน





มองละเอียดอีกนิด ----

เผอิญ ฝนตกครับ เลยต้องมา IN-DOOR ทีนี้เอาตัวอื่นมาเปรียบเทียบครับ TYPE 89 มีขนาดยาวๆ พอๆ กะ M16A2 แต่สั้นกว่า และการออกแบบ ที่เพรียวลม คล้ายๆ FNC

จึงง่ายต่อการใช้งานสำหรับคน ASIAN ครับ



ที่เด็ดของมันคือ มี ระบบ สามนัด ครับ และแน่นอน มี MARKING เป็น ของไอ้ยุ่น ยิงฟันยิ้ม ตัวปรับมีแค่ด้าน ขวาด้านเดียว ไม่มีด้านซ้าย



HOP-UP ใช้แบบ G36 หรือ AUG ครับ ไม่ต้องกลัว อะไหล่ หรือ ความแม่นยำ



มีแปะ STICKER ใน GEARBOX แน่นอน QC มาแล้ว

บทสรุป:





ผมได้ ลองยิง หรือ ลองถือไปถือมาดุแล้ว เป็นอีกหนึ่งกระบอกถ้าชอบ แนวทหาร ญี่ปุ่นครับ

สิ่งที่ทำให้ ผมชอบปืนกระบอกนี้อีก คือมี ระบบ 3 นัดทีไม่ได้ แปลงด้วย FET แต่เป็น MECHANIC ภายใน

ราคา ถือว่า ใช้ได้ เลย ไม่แพงมากเท่า ของ TOKYO MARUI ในราคาน้อยกว่า ถึง 4 เท่า

ป.ล ขออภัยถ้า REVIEW นี้ ไม่ละเอียดพอ แต่ สังสียอะไร ถามได้ ครับ

Kurosho-black castle team Headline Animator